วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
                มีการสำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวและเสียงต่างๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ
                ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
                1)  เรียกดูความหมายของคำศัพท์
                2)  ขยายความเข้าใจ เนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย ฟังคำอธิบาย ฟังเสียงดนตรี เป็นต้น
                3)  ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
                4)  ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
                5)  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
                6)  ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน

                สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมติติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรืออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัว จึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน โดยสื่อหลายมติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล

                สื่อหลายมิติแบบปรับตัว (Adaptive Hypermedia) หมายถึง ความสัมพันธ์กัน ระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อหลายมิติแบบปรับตัวจึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมิติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ (Model) ให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล

                สรุป รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนก็อาจจะเป็นการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะสอนในลักษณะสื่อหลายมิติ หรืออาจะเป็น สื่อหลายมิติแบบปรับตัว เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีการตอบสนองไม่เหมือนกัน


 
บรรณานุกรม

สื่อประสม คืออะไร

สื่อประสม คืออะไร
                สุดใจ  เหง้าสีไพร (2549:7) หมายถึง การนำสื่อหลายอย่างหรือหลายประเภท ซึ่งอาจเป็นวัสดุ อุปกรณ์และ/หรือวิธีการ ที่มีคนส่งเสริมซึ่งกันและกันมาทำหน้าที่ร่วมกันโดยมีสื่อหนึ่งอาจทำหน้าที่เร้าความสนใจ ในขณะที่สื่อหนึ่งช่วยอธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหาและอีกสื่อหนึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบ ประเมิน หรือทบทวนความรู้ เป็นต้น
                วรวิทย์  นิเทศศิลป์ (2551:23) หมายถึง การนำสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กันมีคุณค่าในตัวของมันเอง สื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี สื่อบางชนิดใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยให้ตัวผู้เรียนมีประสิทธิภาพ มีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน การใช้สื่อประสมถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่ง
                กิดานันท์  มลิทอง (2540:255) หมายถึง การนำสื่อหลายๆ ประเภทใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมกันด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการเสนอข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แบบวิดีทัศน์ และเสียง

                สรุป สื่อประสม คือ
                การนำสื่อหลายประเภทมาผสมผสานกัน ซึ่งอาจเป็นวัสดุ อุปกรณ์ / วิธีการ ซึ่งสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กันมีคุณค่าในตัวของมันเอง การใช้สื่อประสมก็เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน













บรรณานุกรม

สุดใจ  เหง้าสีไพร. สื่อการเรียนการสอน หลักการและทฤษฎีพื้นฐานสู่การปฏิบัติ.
ศูนย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์. พิมพ์ครั้งที่ 1 2549.
วรวิทย์  นิเทศศิลป์. สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1 : 2551
กิดานันท์  มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์ครั้งที่ 1 : 2540

สื่อการสอน คืออะไร

สื่อการสอน คืออะไร
                ชม  ภูมิภาค (2549:3) กล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการสอน เป็นพาหนะที่จะนำสาระหรือความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2549:3) กล่าวว่า เป็นวัสดุ (สิ่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่ผุพังง่าย) และวิธีการ (กิจกรรมเกม การทดลอง ละคร ฯลฯ) ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ แม่นยำ) ไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                เปรื่อง  กุมุท (2549:3) กล่าวว่า คือสิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ครูวางไว้
                สิกขาบัณฑิต (2549:3) กล่าวถึง คือวัสดุ เครื่องมือ และ/หรือวิธีการที่จะนำหรือถ่ายทอดสารไปยังผู้รับ

                สรุป สื่อการสอนคือ
                เป็นสิ่งที่ช่วยในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จากการเรียนการสอน ซึ่งสื่อการสอน อาจจะเป็น วัสดุ อุปกรณ์ หรืออาจเป็นวิธีการก็ได้ เช่น การทดลอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน

















บรรณานุกรม

สุดใจ  เหง้าสีไพร. สื่อการเรียนการสอน หลักการและทฤษฎีพื้นฐานสู่การปฏิบัติ.
ศูนย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์. พิมพ์ครั้งที่ 1 2549.